เมนู

นั้น อันพระราชกุมารพระนามว่า เชตะ ปลูกสร้างบำรุงรักษา. เชตราชกุมาร
นั้นเป็นเจ้าของเชตวันนั้น เพราะฉะนั้น จึงเรียกกันว่าเชตวัน. ในพระเชตวัน
นั้น.

แก้อรรถบท อนาถปิณฑิกสฺส อาราเม


พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า อนาถปิณฑิกสฺส อาราเม นี้ ดังนี้.
คฤหบดีนั้น ชื่อสุทัตตะ โดยบิดามารดาตั้งชื่อให้ อนึ่งท่านได้ให้ก้อนข้าวเป็น
ทานแก่คนอนาถาเป็นประจำ เพราะท่านเป็นคนปราศจากมลทินคือความตระหนี่
และเพราะเป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยคุณ มีกรุณาเป็นต้น เหตุท่านเป็นผู้มั่งคั่งด้วย
สมบัติที่น่าปรารถนาทุกอย่าง ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงได้รับขนานนามว่า อนาถ-
ปิณฑิกะ.
ประเทศที่ชื่อว่า อาราม เพราะเป็นที่สัตว์ทั้งหลาย หรือโดย
เฉพาะอย่างยิ่งบรรพชิตทั้งหลายพากันมาอภิรมย์ อธิบายว่า บรรพชิตทั้งหลาย
พากันมาจากที่นั้น ๆ ยินดีอภิรมย์ อยู่อย่างไม่เบื่อหน่าย เพราะพระเชตวันนั้น
งดงามด้วยดอกไม้ ผลไม้ ใบไม้อ่อนเป็นต้น และเพราะถึงพร้อมด้วยองค์ของ
เสนาสนะ 5 ประการ มีไม่ไกลเกินไปไม่ใกล้เกินไปเป็นต้น. อีกประการหนึ่ง
ชื่อว่าอาราม เพราะน้ำท่านที่ไปในที่นั้น ๆ มาภายในของตนแล้วยินดี เพราะ
สมบัติดังกล่าวมาแล้ว . จริงอยู่ อารามนั้น อันท่านอนาถปิณฑิกคฤหบดี
ชื่อจากพระหัตถ์ของเขตพระราชกุมาร ด้วยปูเงิน 18 โกฏิ ให้สร้างเสนาสนะ
เป็นเงิน 18 โกฏิ เสร็จแล้วฉลองวิหารเป็นเงิน 18 โกฏิ มอบถวายพระภิกษุ
สงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ด้วยบริจาคเงิน 54 โกฏิ อย่างนี้ เพราะ
ฉะนั้น จึงเรียกกันว่า อารามของท่านอนาถปิณฑิกะ. ในอารามของ
อนาถปิณฑิกะนั้น.
ก็ในคำเหล่านั้น คำว่า เชตวเน ระบุถึงเจ้าของตนก่อน คำว่า
อนาถปิณฑิกสฺส อาราเม ระบุถึงเจ้าของตนหลัง. มีคำทักท้วงว่า ในการ